เราได้กล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว หลังจากสถานการณ์ การระบาดของโรคโควิดได้กระจายไปทั่วโลก ทําให้นักลงทุนและสื่อต่าง ๆ ต้องดิ้นรน เพื่อทําความเข้าใจกับการพุ่งขึ้นของหุ้นเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วท่ามกลางฉากหลังของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ
เมื่อเดือนที่แล้ว Fed (ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา) ประกาศว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้อย่างน้อยจนถึงปพ.ศ. 2566 ซึ่งจากการประกาศฉบับนี้เอง จึงเป็นการยืนยันแล้วว่าการระบาดของโรค โควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของโลกอย่างไร อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อ ด้านเทคโนโลยีก็เป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงเวลาหนึงเท่านั้น
อาจจะง่ายเกินไปที่จะบอกว่า การเเข่งขันนั้นอยูระหว่างเศรษฐกิจใหมกับเศรษฐกิจเก่า แต่อยากให้ดูเป็นการต่อสู้กันของรูปแบบธุรกิจต่าง ๆ สะมากกว่า วันนี้ Bitesize Finance จะทําให้คุณ เข้าใจถึงกระบวนการทีว่า ทําไมเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ทําให้ดัชนีหุ้นเพิ่มขึ้นขนาดนี้ และประเทศไทยจะก้าวสู่โลกใหมอย่างกล้าหาญได้อย่างไร
The Tech IPO rally
บริษัทฯ ยักษ์ใหญ่ในปจจุบัน ได้แก่ Amazon, Google, Apple และความนิยมของ Netflix ซึ่งในช่วงที่มีการระบาดหนักของโควิด บริษัทฯ ยักษ์ใหญด้านเทคโนโลยีทียึดครองดัชนีหุ้นเป็นหลัก
Credit Suisse วิเคราะห์ว่าหุ้นของ Apple, Amazon, Alphabet, Microsoft และ Facebook เพิ่มขึ้นสูงถึง 37% ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่ทุกหุ้นอื่นๆ ในดัชนี S&P 500 ราคาหุ้นลดลงรวม 6%
ส่งผลให้มูลค่าหุ้นรวมของ 5 บริษัทยักษ์ใหญ่ คิดเป็น 20% ของมูลค่ารวมของตลาดหุ้นทั้งหมด ซึง่เป็นระดับที่ไม่มีบริษัทใดหรือธุรกิจใด สามารถทําได้มากว่าใน 70 ปี ในขณะที่ Apple มีมูลค่าตลาด สูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในเดือนสิงหาคมทีผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึนเป็น 2 เท่า จาก 20 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เท่านั้น
นักลงทุนกําลังมองหา บริษัททีคล่องตัว สามารถปรับตัวได้ และต้องมีโมเดลธุรกิจทีสร้างสรรค์ จากการการระบาดครังใหญ่สอนเราว่า โมเดลธุรกิจแบบ “Asset Light” เป็นหนทางที่ดีในการสร้างมูลค่าของการลงทุน แต่สิงทีน่าสนใจกว่านั้นก็คือ Tesla มีโมเดลธุรกิจแบบ “Asset Heavy” กล่าวคือ จํานวนสินทรัพย์นันขึนอยูกับการผลิตและประสิทธิภาพของโรงงานทีผลิต (โรงงานผลิตในจีนเป็นตัวเปลี่ยนเกมหลัก)
จากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนืองและรวดเร็วของราคาหุ้น Tesla ซึ่งถือเป็นอีกหนึงเรืองที่น่าจับตามอง ปัจจุบันมูลค่าหุ้นของ Tesla เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าหรือคิดเป็น 21% นับจากต้นปี นักวิเคราะห์บางคนกล่าวว่านี่ถือเป็นการขายแบบบีบสัน (Short squeeze) ซึ่งส่งผลให้Tesla มีมูลค่าตลาดสูง ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึนของราคาหุ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความมั่นใจของ นักลงทุนทีมีต่อ Tesla และมองเห็นว่า Tesla มีอะไรมากกว่าแค่บริษัทผลิตรถยนต์ กล่าวคือ Tesla อาจกลายเปนซัพพลายเออร์ยักษ์ใหญ่สําหรับ แบตเตอรีพลังงานไฟฟ้า (EV Battery) และอาจเป็นผู้สร้างมาตรฐานการขายรายใหม่ ที่สามารถขับเคลื่อนและเติบโตได้ด้วยตนเอง
ซึงก็ย้อนกลับไปทีข้อสรุปเดิมนั้นคือ นักลงทุนกําลังมองหา บริษัททีสร้างมูลค่าสูง เป็นผู้นํา (Disruptors) และผู้ที่มีอํานาจสูงสุดในวงการนั้น ๆ
ทําความรู้จักกับบริษัท Snowflake
ไม่มีอะไรตอกยํ้าการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นบริษัทเทคโนโลยีได้ดีเท่ากับการเสนอขายหุ้นทาง เทคโนโลยี (tech IPO) ล่าสุดนั้นเอง ซึ่งถือเป็นการเปิดตัว Snowflake ต่อสาธารณะใน ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เมือสัปดาห์ที่แล้ว
การที่ Snowflake เสนอขายหุ้นใหม่ (IPO) ถือเป็นการขายหุ้นทีใหญที่สุดของปี ทั้งในแง่ของของขนาดดีลและมูลค่าตลาดที่เสนอขาย นอกจากนียังถือเป็นการเสนอขายหุ้นใหมด้านซอฟต์แวร์ที่ใหญที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเพิ่มขึ้นสูงถึงสามเท่า เบียด VMware รองชนะเลิศปี 2550 ตกกระป๋องกันเลยทีเดียว ปัจจุบัน บริษัทคลังข้อมูล (Data warehousing company) มีมูลค่าสูงถึง 33.3 พัน ล้านดอลลาร์ หลังมีการเสนอขายหุ้น สง่ ผลให้มูลค่าหุ้นเพิม ขึนรวมกว่า 3.4 พันล้านดอลลาร์
ซึ่งบริษัทนี้ทําผลงานได้ดีมากๆในปีนี้ เนื่องจากการระบาดครั้งใหญ่บังคับให้ผู้คนหลายล้านคนต้องทํางานจากบ้าน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดธุรกิจ การสร้างเครือข่ายบน แพลตฟอร์มแบบเว็บเบราวเซอร์ เห็นได้ชัดว่านักลงทุนกําลังเดิมพันกับเทรนด์ธุรกิจนี้ ซึ่งอาจ เติบโตขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้
สิ่งนีทําให้ Snowflake มีมูลค่าตลาดทีสูงขึนเมือเทียบกับ Twitter (31,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ Airbnb (18 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และทําให้หลายคนตังคําถามว่าราคาของหุ้นนันสูงเกินไป หรือไม่ นักวิจารณ์ยังคงตังข้อสงสัยเกียวกับกระบวนการเสนอขายหุ้นใหม่ (IPO) ที Snowflake ใช้ เนืองจากมีต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) ที่ Snowflake ใช้สําหรับการร่วมทุน
โดยรวมแล้ว ตลาดยังคงมีความต้องการบริษัทซอฟต์แวร์ เชน่ เดียวกับ Snowflake เปนจํานวน มาก เชน่ “Unity” บริษัทผลิตวิดีโอเกมและ “Sumo Logic” ซึงเป็นแพลตฟอร์มด้านข้อมูล
ความกระหายของตลาดสําหรับเทคโนโลยีดูเหมือนจะเติบโตและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
อะไรคือเรื่องแปลกประหลาดเกียวกับการเสนอขายหุ้นเทคโนโลยี? การประเมินมูลค่าบริษัท สามารถเพิ่มขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับรายได้ที่มากขึ้นเลย จากกรณีของ Snowflake วันแรกของการซื้อขายหุ้น มูลค่าตลาดของบริษัทเพิมขึ้นถึง 140 เท่าของรายรับต่อปีในปัจจุบันคิดเป็น 70 พันล้านดอลลาร์ ทังนี้ การประเมินมูลค่าตลาดยังเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าของมูลค่าที่ควรได้ในระหว่างการระดมทุนส่วนตัวเมื่อต้นปีนี้
บริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยี ในดัชนีหุ้น Nasdaq Composite นั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ในปีนี ซึ่งถือว่า สูงกว่าผลกําไรในดัชนี S&P 500 เสียอีก ถึงแม้ว่าล่าสุดจะมีกระแสตีกลับ แต่นันก็ไม่ได้ส่งผลอะไร ต่อการเพิ่มขึ้นครั้งนี้เลย สิ่งนี้บอกอะไรกับคุณ? ความหิวโหยต่อบริษัทเทคโนโลยีทีเติบโตอย่างรวดเร็วในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยตั่านั้นแข็งแกร่ง
การเติบโตนั้นหาได้ยากในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ เมือคุณเจอหนทาง คุณอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพื่อเข้าเล่นเกมการลงทุนครั้งนี้
สิ่งนี้จะก้าวนําประเทศไทยไปไกลแค่ไหน?
ในขณะที่ตลาดทัวโลกกําลังประสบความสําเร็จในด้านนวัตกรรมผู้เล่นที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ทีทําให้ธุรกิจรูปแบบเก่า ๆ กําลังสันคลอน ตลาดของประเทศไทยกําลังก้าวถดถอยลง
● การเสนอขายหุ้นใหมแก่ประชาชน (IPO) ทีใหญที่สุดในประเทศไทย เดิมกําหนดไว้ในป 2563 – 2564 ได้แก่หุ้น SCG packaging และ PTTOR สองกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ ในไทย ที่ดําเนินกิจการมานานหลายทศวรรษ
● SCG packaging เป็นหน่วยงานหนึ่งของปูนซิเมนต์ไทย ซึงมีแผนระดมทุนเพิ่มขึ้น 39.5 พันล้านบาท ได้เห็นการเติบโตของอีคอมเมิร์ซและธุรกิจจัดส่งอาหาร ท่ามกลางการแพรร่ะบาดของโควิด
● PTTOR เปนธุรกิจค้าปลีกนํ้ามันและค้าปลีกของปตท. ที่แยกตัวออกจากบริษัทแม่ หรือ ปตท.ในปพ.ศ.2561และยังเป็นเจ้าของคาเฟอเมซอนซึ่งมีสาขาปลีกย่อยอยูที่ปั้มนํ้ามันปตท. และย่านธุรกิจร้านค้าสําคัญ ๆ ทุกแห่งในไทย
● ในขณะที่การเสนอขายหุ้น IPO ทั้งสองจะมีความต้องการอย่างแน่นอน เมื่อพิจารณาจาก ความนิยมและขนาดของธุรกิจ แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองเป็น บริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในไทยมานานมากเเล้ว เเละอยู่ใน old economy sector
แน่นอนว่า บริษัททั้งสองจะยังมีส่วนเเบ่งในตลาดเเละมีบทบาทที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทําในการเเข่งขันระหว่างบริษัทอื่นที่เล็กกว่า นั้นยากขึ้น เพราะตลาดไทยนั้นเน้นเเต่ผู้เล่นตัวใหญ่ ที่อยู่มานาน
● ตลาดสําหรับการเสนอขายหุ้นเทคโนโลยี (Tech IPO) ในประเทศไทยนั้นไม่มีอยู่จริง เมื่อ เทียบกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากขนาดของเศรษฐกิจด้านอินเทอร์เน็ตทีแตกต่างกัน (1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ สําหรับตลาดสหรัฐ กับ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ สําหรับตลาดใน ประเทศไทย ซึงถือว่าน้อยกว่าตลาดสหรัฐอยูเ่ป็นจํานวนมาก)
● อย่างไรก็ตาม มีแรงกระตุ้นบางอย่างที่อาจเป็นแรงขับเคลื่อนที่ดี นั้นคือการที่ไทยเป็นผู้นํา ด้านการออกแบบไมโครชิป “Silicon Craft Technology” ซึงเปิดตัวในตลาดหลักทรัพย์ไทย เมือต้นเดือนกรกฎาคม และมีผลกําไรสูงถึง 200% ในวันแรกของการซื้อขาย
● อีกทั้งยังมีบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่าง I&I Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี ที่กําลังวางแผนทีจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (Market for Alternative Investments) ในช่วงสิ้นปีนี้หรือภายในปีหน้า
● เหตุผลที่บริษัทเทคโนโลยียังคงมีมูลค่าทางตลาดไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับบริษัททีมีโมเดล ธุรกิจแบบดังเดิม เนื่องจากบริษัทแบบดังเดิมมีรูปแบบธุรกิจทีนักลงทุนรายย่อยมาลงทุนเป็นจํานวนมาก ซึ่งถือเป็นปริมาณการซื้อขายส่วนใหญในประเทศไทย
● อีกหนึ่งเหตุผลคือการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นถูกครอบงําโดยธุรกิจผู้บริโภคสินค้าอุตสาหกรรมและภาคพลังงานเปนส่วนใหญ่ ทําให้บริษัทด้านซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยี โดยเฉพาะในประเทศไทยยังคงเป็นธุรกิจเฉพาะกลุ่ม
● ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การควบรวมและการซื้อกิจการ (M&A) มักเป็นทางเลือกในการ exit สําหรับบริษัทขนาดเล็ก และพวก Starup โดยปกติแล้วข้อตกลง M&A นั้นมีขนาดและมูลค่าสูงกว่าการเสนอขายหุ้นในภูมิภาคนี้เสียอีก
Looking Ahead! ทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร
ไมใช่ทุกประเทศที่สามารถเป็นแหล่งเพาะปลูกนวัตกรรมหรือแหล่ง Startups ที่มีมูลค่าสูงได้
นักลงทุนควรมองหาบริษัททีเป็นผู้พัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือมองหาโอกาสใหม่ๆให้กับโมเดลธุรกิจของตนเองได้เสมอ ซึ่งผู้ที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ จะเป็นผู้ชนะที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจทีจะคงอยู่ต่อไปอีกกว่าสิบปีเเละไกลกว่านั้น
บริษัทที่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สามารถวิเคราะห์และดําเนินการต่าง ๆ หรือใครที่ asset light จะได้จะเป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ บริษัทผู้ชนะที่สามารถสร้างมูลค่าการลงทุนให้กับผู้ถือหุ้นได้ไม่จําเป็นที่จะต้องเป็น “บริษัทเทคโนโลยี” เสมอไป แต่อาจเป็น บริษัททีมีความคล่องตัว มองเห็นโอกาส และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพือประโยชน์ของตนได้
ในขณะเดียวกัน ข่าวการเสนอขายหุ้นทางเทคโนโลยีของธุรกิจการให้บริการ ecommerce เเบบครบวงจร ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตอย่าง aCommerce ในไทย ถ้าเกิดขึ้นจริง ก็จะเป็นการเข้าสู่ตลาดหุ้นที่น่ายินดีสําหรับแวดวงเทคโนโลยีอีกด้วย อีกทังยังถือเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้บริษัทอื่น ๆ ที่กําลังมองหาการ exit ทีไม่ใช่การซื้อกิจการอย่างเดียว อีกทั้ง อาจจะเป็นโอกาสที่ดีสําหรับนักลงทุนรายย่อยให้ทําความคุ้นเคย เเละเข้าใจ business model ใหม่ๆ ที่ไม่ได้มีเเค่ธุรกิจเเบบเดิมๆ
ตลาดไทยจะเติบโตได้อย่างจริงจัง เมื่อธุรกิจใหม่ๆนั้นได้เห็นการเติบโต ได้มีการเเข่งขัน เเละได้รับโอกาสที่ตอนนี้มักตกลงไปสู่เจ้าใหญ่ๆที่อยู่มานานทั้งนั้น